วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เขื่อนหัวช้าง

เขื่อนหัวช้าง

พิมพ์





ชื่อโครงการ 
:
                  ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

พระราชดำริเมื่อ :
            เมื่อปี  2505 นายเปรม อักษรสว่าง สมาชิกสภาจังหวัดพัทลุงและนายกพุทธิกสมาคมบางแก้ว ได้นำสมาชิกฯ  ยุวกสิกรและประชนประมาณ  500  คน  ขุดลอกเหมืองส่งน้ำจากคลองตะโหมดหรือ  คลองท่าเชียดเพื่อนำไปใช้ในเขตอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง แต่ไม่ได้ผล  เนื่องจากจะต้องขุดเหมืองส่งน้ำลึกประมาณ 5-6  เมตร  ซึ่งเกินกำลังที่เกษตรกรจะทำได้  ต้องใช้เทคนิคและเครื่องจักรเครื่องมือในการดำเนินงาน จึงร้องเรียนผ่านชลประทานภาคใต้ในสมัยนั้น ขอให้พิจารณาเปิดโครงการท่าเชียดขึ้น  เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวชลประทานภาคใต้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปพิจารณาเห็นว่าลู่ทางที่จะเปิดการก่อสร้างโครงการฯ  ขึ้นได้จึงส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศและสถิติต่าง ๆ เพื่อนำมาวางโครงการและออกแบบ และได้ก่อสร้างโครงการเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2514  มีพื้นที่ทั้งหมด 121,527 ไร่  พื้นที่ชลประทาน  100,000 ไร่
            วันที่  14  กันยายน  2520  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครการชลประทานเพื่อช่วยเหลือการทำนาในเขตจังหวัดพัทลุง ต่อมาสำนักงานชลประทานที่ 12  (ปัจจุบันคือสำนักชลประทานที่  16)  ได้รับหนังสือจากอำเภอตะโหมด ที่ พท. 0616/256 ลงวันที่ 25 มกราคม  2532  ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้โครงการอ่างเก็บน้ำโละหนุน ตามพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานท่าเชียด จำนวน 100,000 ไร่  และลดอันตรายจากอุทกภัยในเขตอำเภอตะโหมด  อำเภอเขาชัยสน  จังหวัดพัทลุง
            ประธานสภาตำบลตะโหมด (นายบุญชอบ  เพชรหนู) ประธานสภาตำบลคลองใหญ่   (นายหวัง  เสถียร)  และประธานตำบลแม่ขรี (นายสวัสดิ์  มุสิกะสงค์) ได้มีหนังสือ  ลงวันที่  6  กรกฎาคม 2533  เรียนราชเลขาธิการ  ขอพระราชทานสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง  โดยให้เหตุผลว่า ท้องที่ตำบลตะโหมด ตำบลคลองใหญ่ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รวม 25 หมู่บ้านประชากร 21,443 คน มีการทำนาทำสวนเป็นอาชีพหลัก เนื้อที่การเกษตร  73,158  ไร่  แต่การประกอบอาชีพ ดังกล่าวไม่ได้ผลเต็มที่  เนื่องจากขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร  และเป็นคลังจ่ายน้ำให้กับโครงการชลประทานท่าเชียด
            ต่อมาราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือ  ที่  รล 0005 / 10206  ลงวันที่  26  กรกฎาคม  2533  เรียนอธิบดีกรมชลประทาน  และหนังสือที่  รล 0005 / 10207  ลงวันที่  26  กรกฎาคม  2533  เรียนผู้ว่าราชการ จังหวัดพัทลุง  แจ้งให้ทราบถึงความประสงค์ของราษฎรที่ต้องการให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง จึงขอให้พิจารณาในเรื่องนี้  และหากมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด  แจ้งให้สำนักราชเลขาธิการทราบด้วย
            จากการประสานงานระหว่างกรมชลประทาน  โดยสำนักชลประทานที่ 12 (ปัจจุบันคือ  สำนักชลประทานที่ 16) กับจังหวัดพัทลุง เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้   และได้ดำเนินการพิจารณาเบื้องต้นแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม  2533 
            สำนักชลประทานที่ 12 ได้มีบันทึกที่ กษ 0337 / 350  ลงวันที่  18  ตุลาคม 2533 เรียนอธิบดีกรมชลประทาน  เห็นสมควรขอพระราชทานโครงการเป็นโครงการพระราชดำริ
            กรมชลประทานได้มีหนังสือที่  กษ 0301 / 1825 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2534 เรียนราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณารับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
            สำนักราชเลขาธิการ  ได้มีหนังสือที่  รล 0005 / 5226  ลงวันที่  18  เมษายน 2534 และหนังสือที่    รล 0005 / 5227 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534 แจ้งให้กรมชลประทานและผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ ตามลำดับ ว่าความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
            กองวางโครงการ  ได้ดำเนินการศึกษาและรายงานโครงการเสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540  ซึ่งต่อมาโครงการชลประทานพัทลุง  ได้มีบันทึกที่ กษ 0337.02/686 ลงวันที่ 11 มิถุนายน  2540  เรียน  ผสก.ผชป.12 (ปัจจุบัน  ผส.ปช.16)  เพื่อโปรดพิจารณาขออนุมัติกรมฯ  ตั้งงบประมาณก่อสร้างในปี  2541  ต่อไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขื่อนหัวช้าง    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขื่อนหัวช้าง

เขาอกทะลุ

เขาอกทะลุ

      เขาอกทะลุ เป็นภูเขาที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณใจกลางเมืองพัทลุง ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลคูหาสวรรค์ ตำบลปรางค์หมู่ และตำบลพญาขัน ชาวพัทลุงเชื่อว่าเขาอกทะลุมีความศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนเสาหลักเมืองของพัทลุง ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงนำเขาอกทะลุและเจดีย์บนยอดเขาไปเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นชื่อเขาอกทะลุยังปรากฏอยู่ในคำขวัญประจำจังหวัดอีกด้วย
    เขาอกทะลุ มีลักษณะเป็นเขาหินปูน สูงประมาณ 250 เมตร บริเวณตรงกลางเกือบถึงตอนปลายของยอดเขามีโพรงขนาดใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 10 เมตร สามารถมองทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งได้ ตามตำนานเล่าว่า เขาอกทะลุนี้เกิดจากการทะเลาะกันระหว่างเมียหลวงกับเมียน้อย เมียหลวงใช้กระสวยทอฟ้าฟาดหัวเมียน้อยจนแตก ส่วนเมียน้อยใช้สากตำข้าวกระทุ้งเข้าที่หน้าอกเมียหลวงอย่างแรงจนอกทะลุ ทั้งสองตายตกไปตามกันกลายเป็นภูเขา โดยเมียหลวงกลายเป็น “เขาอกทะลุ” ในขณะที่เมียน้อยกลายเป็น “เขาหัวแตก” หรือ “เขาคูหาสวรรค์” ที่อยู่ใกล้ๆ กันนั่นเอง
    เขาอกทะลุ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดพัทลุง สำหรับการเดินทางขึ้นไปยังยอดเขาคงต้องใช้ความอดทนพอสมควร เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นบันไดถึง 1,066 ขั้น หากรู้สึกเหน็ดเหนื่อยก็สามารถหยุดพักระหว่างเส้นทางเดินบริเวณจุดชมวิวได้ หลังจากที่ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาทีก็จะถึงบริเวณอกทะลุ ที่อาจทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกหวาดเสียวเมื่อมองผ่านโพรงเห็นผืนดินเบื้องล่าง และเมื่อไปต่ออีกเล็กน้อยก็จะถึงยอดเขา ซึ่งตรงจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้แบบพาโนรามา และสิ่งที่จะพลาดทำไม่ได้เลยก็คือ การถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก เพื่อบันทึกว่าครั้งหนึ่งเคยเดินทางมาเยือนสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงอย่าง “เขาอกทะลุ” แห่งนี้

        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขาอกทะลุ            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขาอกทะลุ

วังเก่า วังใหม่


วังเก่า วังใหม่


             วังเจ้าเมืองพัทลุง ตั้งอยู่ที่ถนนอภัยอภิรักษ์ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ในอดีตวังแห่งนี้เคยใช้เป็นสถานที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง มีความสวยงามโดดเด่น ปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
          วังเจ้าเมืองพัทลุง เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “วังเก่า – วังใหม่” เนื่องจากประกอบด้วย “วังเก่า” และ “วังใหม่” ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน สำหรับ “วังเก่า” นั้นสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยที่พระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจวงศ์) เป็นเจ้าเมือง ส่วน “วังใหม่” ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ติดชายคลองลำปำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาพัทลุง ผู้เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ปัจจุบันทายาทตระกูล “จันทโรจวงศ์” ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ในขณะที่วังใหม่ ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ ไปแล้วก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 
จากอดีตที่เคยเป็นสถานที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุงที่มีความสวยงามโดดเด่นยิ่งนัก ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด ซึ่งวังเจ้าเมืองพัทลุงแห่งนี้ เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “วังเก่า – วังใหม่” โดยประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวญเดียวกัน ดังนี้
·      วังเก่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยที่พระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจวงศ์) เป็นเจ้าเมือง ซึ่งทายาทตระกูล “จันทโรจวงศ์” ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่  16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
·      วังใหม่ เป็นวังที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ติดกับชายคลองลำปำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาพัทลุง ผู้เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น โดยได้รับการขึ้นทะเบียนฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วังเก่า วังใหม่ พัทลุง   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วังเก่า วังใหม่ พัทลุง

บ่อน้ำร้อน/ธารน้ำเย็น

บ่อน้ำร้อน/ธารน้ำเย็น

                        อยู่ที่ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นปรากฏการ์ที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ อาบแล้วสามารถช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างได้ ตาอมาเจ้าคุณพิศาล ธรรมรังสี วัดคูหาสวรรค์ ได้ชักชวนชาวบ้านพัฒนาด้วยการลาดซีเมนต์ตกแต่งบริเวณบ่อน้ำร้อน และทำเป็นร่องน้ำสำหรับระบายน้ำให้ไหลไปทางร่องออกด้านหน้าสู่คูถนน พร้อมทั้งสร้างห้องน้ำถาวรไว้บริการ บ่อน้ำร้อนนี้จึงได้ชื่อว่า "บ่อน้ำร้อนพิศาล" มีพื้นที่ปากบ่อประมาณ 8-10 ตารางเมตร มีไอน้ำพุร้อนไหลล้นปากบ่ออยู่ตลอดเวลา ถ้าได้รับการสั่นสะเทือนความร้อนจะเพิ่มขึ้น อุณหภูมิน้ำร้อนประมาณ 60 องศาเซลเซียส
ส่วนธารน้ำเย็น อยู่ทางทิศเหนือของบ่อน้ำร้อน มีถ้ำพระด้านใน ระดับน้ำลึกประมาณ 1 เมตร มีน้ำไหลจากถ้ำนี้ตลอดปี สามารถมองเห็นปลาน้อยใหญ่ว่ายวนไปวนมา เคยมีผู้ลอดถ้ำสำรวจภายในถ้ำพบว่าบางช่วงแคบประมาณ 1 เมตร บางช่วงกว้างถึง 30-40 เมตร ความยาวของถ้ำไปตามแนวยาวของภูเขา จนสามารถลอดออกทางตรงข้ามได้
ธารน้ำเย็น  ขับเข้ามาเรื่อยๆ จะมีสามแยกตรงทางแยกเขียนว่าบ่อน้ำร้อนเลี้ยวขวาก็ได้ตรงไปก็ได้ ก็เลยงงนิดหน่อย แต่มารู้ทีหลังหลังจากขับรอบภูเขาลูกนี้แล้วพบว่าถนนมันเป็นวงกลมรอบเขานั่นเอง จะไปทางไหนก็วกมาที่เดิมได้ ธารน้ำเย็นอยู่ตรงสามแยกพอดี ตรงนี้มีร้านอาหารอยู่ขวามือ ด้านซ้ายพอมีที่จอดรถได้เลยจอดเก็บภาพน้ำใสๆ แห่งนี้ มองเผินๆ ไม่รู้ว่าเป็นธารน้ำ เพราะมันเหมือนแอ่งน้ำกลมๆ แต่ความจริงใต้ภูเขาเป็นถ้ำยาวตลอดไปทะลุอีกด้านของภูเขา มีบริการล่องเรือเที่ยวแต่ฤดูนี้คงล่องเรือไม่ได้ เพราะน้ำมันสูงจนมองไม่เห็นถ้ำแล้ว ถ่ายรูปนิดหน่อยแล้วไปกันต่อ
บ่อน้ำร้อน  ไม่ต้องแปลกใจนะครับ บ่อที่นี่เค้าเป็นแบบนี้แหละ มีเจ้าหน้าที่คอยเก็บกวาดใบไม้ที่ร่วงลงบ่ออยู่ตลอด น้ำร้อนจากตาน้ำร้อนไหลมาเติมน้ำเก่าก็ถูกหมุนเวียนออกไปตามทางที่สร้างเอาไว้โดยเฉพาะ น้ำที่ไหลออกมาจากบ่อน้ำร้อนจริงๆ นั้นอุณหภูมิประมาณ 60 ต้มไข่ไม่สุกนะครับไม่ต้องเอามาลองแช่ น้ำร้อนผุดขึ้นมาตามธรรมชาติพอล้นบ่อก็ไหลมาที่นี่ ก็เริ่มเย็นตัวลงบ้างแล้ว แต่ถ้าแช่นานๆ ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกันใครๆ มาก็เอาขาแช่อย่างที่เห็น


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ่อน้ำร้อน ธารน้ำเย็น เขาชัยสน              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ่อน้ำร้อน ธารน้ำเย็น เขาชัยสน